อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

โรคภูมิแพ้





โรคภูมิแพ้คืออะไร

          โรคภูมิแพ้คือภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น โดยอาการภูมิแพ้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสสารบางชนิด ซึ่งสสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้จะเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ และเมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แล้วก็จะหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมา จนทำให้ร่างกายเกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการคัน ไอ มีเสมหะ หายใจไม่สะดวก ลมพิษ เป็นต้น



โรคภูมิแพ้


โรคภูมิแพ้อากาศ หรือโรคภูมิแพ้จมูก (Atopic dermatitis)
          โรคภูมิแพ้อากาศหรือโรคภูมิแพ้จมูก มีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุจมูก ซึ่งเยื่อบุจมูกของผู้ป่วยจะไวต่อสิ่งเร้า อาทิ สภาพอากาศ ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา ขนสัตว์ หรือแม้แต่กลิ่น และสิ่งระคายเคืองต่าง ๆ โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ก็คือ จะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก มีเสมหะในลำคอ เลือดกำเดาไหลบ่อย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการคันตา น้ำตาไหล คันหู และหูอื้อร่วมด้วย


วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ 


          วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคภูมิแพ้ก็คือการหลีกเลี่ยงและกำจัดสารก่อให้เกิดภูมิแพ้และสารที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่าง ๆ โดยหากเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร ก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือถ้าหากมีอาการของภูมิแพ้ขึ้นจมูกบ่อย ๆ ก็ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ

          นอกจากนี้ก็ยังมีการวิจัยพบว่านมแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ เพราะในนมแม่จะไม่มีโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงควรให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน เพื่อเป็นการสร้างภูมิต้านทานตั้งแต่ยังเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ได้ค่ะ ไม่เพียงเท่านั้น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วนก็จะช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน


Cr.https://health.kapook.com/view2849.html

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเลือกหน้ากากอนามัย


หน้ากากอนามัยแต่ละแบบใช้อย่างไร


ประเภทของหน้ากากอนามัย

การที่จะเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบไหนนั้น เราลองมารู้จักกับหน้ากากอนามัยแบบต่าง ๆ กันก่อนดีกว่า เพราะหน้ากากอนามัยเอง ก็มีหลากหลายแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งหน้ากากอนามัยที่วางขายทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น

หลายคนน่าจะรู้จักมักคุ้นหน้ากากอนามัยแบบนี้ เพราะหาซื้อได้ง่าย ตามร้านสะดวกซื้อ ที่สำคัญราคาไม่แพง และมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นได้ดี สามารถป้องกันของเหลวซึมผ่านได้ ทั้งยังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจามได้อีกด้วย
ซึ่งหน้ากากอนามัยประเภทนี้ สามารถป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรค จำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา แต่ถ้าเป็นเชื้อไวรัสนั้น มีอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากในระดับไมครอน อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ ต้องเปลี่ยนหน้ากากใหม่ทุกวัน หรือว่าง่าย ๆ คือ เมื่อใช้เสร็จแล้ว ก็ต้องทิ้งนั่นเอง

หน้ากากอนามัยที่ผลิตจากผ้า

หน้ากากอนามัยที่ผลิตจากผ้านั้น ก็แทบไม่แตกต่างจากแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้นเลย เพราะหลาย ๆ คนคงเคยเลือกใช้ โดยการใช้งานจะเน้นใช้สำหรับป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการกระจายของน้ำมูก หรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้เช่นเดียวกับหน้ากากอนามัยกระดาษ
แต่ความพิเศษของหน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้ายคือ สามารถซักทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากจะประหยัดจากการนำกลับมาใช้งานซ้ำ ๆ ได้แล้ว ยังเป็นการลดขยะไปในตัวด้วย


หน้ากากอนามัยชนิด N95

หากใครต้องการหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันทั้งฝุ่นควัน และเชื้อโรคได้ หน้ากากอนามัยชนิด N95 นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี และเรียกได้ว่าเป็นหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน
ที่สำคัญหน้ากากอนามัยชนิด N 95 มีอายุการใช้งานนานประมาณ 3 สัปดาห์ กล่าวคือ คุณสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ แต่เพื่อสุขอนามัยที่ดีควรจะเปลี่ยนใหม่ทุกวันจะดีกว่า แต่ราคาจะแพงขึ้นมาหน่อย ราคาชิ้นละประมาณ 30-50 บาท


แล้วแบบนี้ จะเลือกใช้อันไหนดี

จากสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มฝุ่นควันในกรุงเทพฯ หน้ากากอนามัย N95 อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะป้องกันละอองไอจามแล้ว ยังสามารถป้องกันฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ด้วย
และมีหลายหน่วยงานออกมาให้ความรู้ว่า การสวมใส่หน้ากากเป็นเรื่องที่ดี แต่ในกรณีคนทั่วไปที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือไม่ได้อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ อาจไม่จำเป็นต้องสวมใส่ก็ได้
เช่น หากเดินออกนอกอาคาร 10 – 15 นาที ความเสี่ยงก็มีน้อย หน้ากากชนิดพิเศษอาจจะไม่จำเป็นมากนัก แต่ถ้าเดินออกไปเป็นชั่วโมง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ซึ่งทำให้หายใจเอาอากาศภายนอกเข้าไปมากกว่าปกติ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือทำให้ได้รับฝุ่นควันพวกนี้เข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะคนที่มีโรคทางเดินหายใจ ฝุ่นควันเหล่านี้อาจจะไปกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ เช่น คนที่เป็น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง

ใช้หน้ากากอนามัยอย่างไรให้ถูกวิธี

•เริ่มจากการเลือกหน้ากากอนามัยให้มีขนาดพอดีกับใบหน้าไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
•ก่อนสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ 
•สวมหน้ากากอนามัยให้คลุมทั้งปากและจมูก โดยเอาด้านที่มีลวดไว้ด้านบน หันเอาด้านที่มีสีเขียวหรือสีเข้มออกด้านนอก แล้วปรับสายคล้องหูให้พอดีกับใบหน้า
•ให้รอยจีบพับลงอยู่ด้านหน้า จากนั้นดัดลวดให้แนบสนิทกับใบหน้าของผู้สวมใส่ อย่าให้มีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากากอนามัย
•ในกรณีที่เป็นหน้ากากชนิดผ้า สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการนำไปซักกับผงซักฟอกและตากให้แห้งก่อนนำมาใช้ซ้ำ แต่หากเป็นชนิดกระดาษควรเปลี่ยนทุกวัน
•หลังจากเลิกใช้ หรือเปลี่ยนหน้ากาก ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิดสนิท

Cr.https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/889534


ฝุ่นพิษ PM 2.5

   

PM  2.5 คืออะไร?
คำว่า PM ย่อมาจาก Particulate   Matters  เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ส่วนตัวเลข 2.5 นั้นมาจากหน่วย 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตรนั่นเองพูดง่ายๆ คือ ฝุ่นละอองPM2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงจะเป็นเพียงฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว แต่เมื่อมาแผ่อยู่รวมกันจะกินพื้นที่ในอากาศมหาศาล ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณสูง เกิดเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกันฝุ่นละออง  PM2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก เส้นผมที่ว่ามีขนาดเล็กแล้ว เจ้า PM 2.5 ยังเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอด และหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว


ฝุ่นละอองมาจากไหน?
          สาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองมีหลายปัจจัย เช่น โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผา
ไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วย ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM 2.5 ในบรรยากาศ คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง      ตัวเมืองที่มีตึกสูงรายล้อมเหมือน “ กรุงเทพ ” จะมีลักษณะคล้ายๆ แอ่งกระทะ เกิดการสะสมของเจ้าฝุ่นร้ายได้ง่าย ซึ่งปกติฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปในอากาศ ถูกลมพัดฟุ้งกระจายไป แต่ถ้าวันไหนที่อากาศนิ่ง ไม่ค่อยมีลมพัด ฝุ่นละอองจะไม่ฟุ้งกระจาย ส่งผลให้ระดับความเข้มของฝุ่นในพื้นที่นั้นๆ สูงมากขึ้นจนกลายเป็นระดับที่อันตรายต่อสุขภาพ และเจ้าฝุ่นร้ายมักวนเวียนอยู่มากในช่วงกลางคืน แต่จะค่อยๆ จางหายไปเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นส่องสว่างในยามเช้า

มีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร?
          ฝุ่นละออง  PM 2.5 เป็นเจ้าฝุ่นร้ายที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไม่มีกลิ่น ขนาดเล็กจิ๋วมาก สามารถผ่านเข้าไปในร่างกายเราลึกได้ถึงถุงลมปอด บางส่วนสามารถเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมเข้าเส้นเลือดฝอยล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายของเราได้ความน่ากลัวของเจ้าฝุ่นร้ายนี้ คือ กระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ รบกวนสมดุลต่างๆ ของร่างกาย และกระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบ ซึ่งมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกายของเรามาก แล้วส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้

-กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
-กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-สำหรับผลระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และเพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ด้วย

ข้อแนะนำและวิธีป้องกันตนเองจากฝุ่นพิษ PM 2.5

1.  ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
2.  หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เผาพื้นที่เพื่อเตรียมการทำเกษตรกรรม เผาขยะ หรือวัสดุเหลือใช้
3.  ควบคุมกระบวนการก่อสร้างให้มีฝุ่นน้อยที่สุด
4.  ออกกำลังกายในที่ร่ม ฝุ่นน้อยๆ และไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกกำลังกาย
5.  รับประทานอาหารเสริม อาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีสูง เช่น ถั่ว ปลา(มีโอเมก้า 3 มาก)
6.  ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือที่โล่งแจ้ง ให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าสิบห้า” โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบการหายใจหรือโรคหัวใจเรื้อรัง สำหรับคนทั่วไปอย่างน้อยให้ใส่ “หน้ากากอนามัย” โดยต้องใส่ให้ถูกต้องวิธี คือ หันด้านที่เป็นสีเขียวและเป็นมันออกด้านนอก ให้ส่วนที่มีแผ่นเสริมความแข็งแรงและช่วยการเข้ารูปอยู่ด้านบนของจมูก สังเกตรอยพับของผ้าด้านหน้าต้องพับลง หากใส่ผิดรอยพับจะกักเก็บฝุ่นละอองในรอยพับ ทำให้หายใจลำบาก


Cr.  https://www.honestdocs.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants